วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

การแต่งกาย

การแต่งกาย

การแต่งกายภาคตะวันออก
ในภาคตะวันออกการแต่งกายมีลักษณะเช่นเดียวกับคนภาคกลางเดิมที่ภาคนี้เรียกรวมกับคนภาคกลาง แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งต่างไปจากภาคกลางผลิตผลและภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้จังมีลักษณะเด่นขัดของตนเองที่แยกออกไปได้
ภาคกลางและภาคตะวันออก
 ชุดไทย ร.5 – ตัวเสื้อเป็นผ้าลูกไม้เนื้อนุ่ม เอวใส่ลาสติกระบายสวยงามทั้งรอบคอและปลายแขนเสื้อ แขนตุ๊กตาติดกระดุมด้านหลังสวมใส่สบาย โจรกระเบนผ้าตราดลายไทยสอดดิ้น
          เด็กหญิงในสมัยนี้ นุ่งโจงกระเบนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ไม่สวมเสื้อเวลาออกงานจึงสวมเสื้อคอติดลูกไม้ที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้า เวลาแต่งตัวเต็มที่นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาวคอปิดแต่งด้วยผ้าลูกไม้งดงาม สวมถุงเท้า รองเท้า เจ้านายที่ทรงพระเยาว์ ทรงฉลองพระองค์แขนยาว พองและทรงเครื่องประดับมาก ยังคงนิยมไว้ผมจุก เมื่อตัดจุกแล้วจึงเริ่มไว้ผมยาว ได้กล่าวไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่มีพระราชประสงค์จะให้ชาวต่าง ประเทศดูหมิ่นเหยียดหยามคนไทยว่าแต่งกายเหมือนคนป่า จึงทรงกวดขันเรื่องนี้มากถึงกับโปรดให้ออกประกาศ 2 ฉบับ ใชับังคับราษฎร ฉบับแรกคือ
          ประกาศห้ามคนแต่งตัวไม่สมควร มิให้ไปมาในพระราชฐานที่เสด็จออก โดยห้ามผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงสวมแต่เสื้อชั้นในหรือไม่สวมเสื้อเลย หรือนุ่งกางเกงขาสั้นเหนือเข่า หรือนุ่งผ้าหยักรั้งไม่ปิดเข่าหรือนุ่งโสร่ง หรือสวมรองเท้าไม่มีถุงเท้า ไม่ว่ารองเท้าชนิดใด ๆ หรือสวมรองเท้าสลิปเปอร์ ตลอดจนเด็กที่เปลือยกายเข้ามาในบริเวณพระราชวังชั้นนอกด้านหน้ากับบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยกเว้นคนทำงานขนของก่อสร้าง กวาดล้าง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนหรือพาเด็กหรือปล่อยเด็กที่แต่งกายไม่สมควรดังกล่าวล่วงเข้ามาในเขตที่กำหนดไว้ให้นายประตูขับไล่ห้ามปราม ถ้าไม่ฟังให้จับส่งศาลกระทรวงวังตัดสินโทษ ปรับไม่เกินคราวละ 20 บาท หรือขังไว้ใช้การไม่เกินคราวละ 15 วัน หรือทั้งปรับทั้งขังตามควรแก่โทษ ถ้าผู้ทำผิดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีลงไป บิดามารดาหรือมูลนายหรือผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น จะต้องรับโทษแทนทุกประการ ประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม ร.ศ.117 (พ.ศ.2441) ให้ใช้บังคับตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ร.ศ.117 เป็นต้นไป
          ชุดราชปแตน – เป็นชุดไทยสำหรับท่านชายแบบทางการใช้ได้กับการใส่เพื่อเข้าร่วมงานพิธีแบบไทย หรือเป็นชุดสำหรับเจ้าบ่าว ในพิธีหมั้นหรือพิธีมงคลสมรส ชุดนี้โดยปกติจะใส่กับโจงกระเบนมีให้เลือก 8 สีด้วยกันตัดเป็นสำเร็จรูปขอบยางยืด
          เครื่องแต่งกายของชายไทยในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ได้ปรับปรุงตามแบบประเพณีนิยมสากลของชาวตะวันตกเป็นครั้งแรก แต่หลังจากเสด็จประพาสอินเดีย-พม่า ในปี พ.ศ.2414 แล้ว มีพระราชดำริว่า การสวมเสื้อนอกแบบฝรั่งซึ่งต้องมีเสื้อเชิ้ต สวมข้างในแล้วยัง มีผ้าผูกคออีกด้วยนั้น ไม่เหมาะสมกับอากาศร้อนของเมืองไทย จึงโปรดให้ดัดแปลงเป็นเสื้อนอกสีขาวคอปิดติดกระดุมตลอดอก 5 เม็ด เรียกว่า “เสื้อราชแปตแตนท์ (RajPattern) ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “เสื้อราชปะแตน” ซึ่งแปลว่า “แบบหลวง” แต่ยังคงนุ่งผ้าม่วงสีกรมท่าเหมือนเดิม ในสมัยนี้ นิยมสวมหมวกแบบยุโรปหรือหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้า ซึ่งมักจะใช้คล้องแขนจึงเรียกว่า “ไม้ถือ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทหารนุ่งกางเกงขายาวแทนผ้าม่วงโจงกระเบนสีกรมท่า เป็นผลให้ประชาชนเริ่มนิยมนุ่งกางเกงขายาวและสวมหมวกกะโล่กันขึ้นบ้างในตอนปลายรัชกาล
          ที่มา https://duttineek.wordpress.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น