วันศุกร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559


                                                                ประวัติส่วนตั
 
ชื่อ : พงศ์พัทธ์ สีเรืองพัน
ชื่อเล่น : บอล
ฉายา - พี่หนอน
อาหารที่ชอบ : ชอบข้าวมันไก่
วิชาที่ชอบ : คอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559

ของฝากจังหวัดราด

ของฝากจังหวัดตราด



wp-chang105






สิ่งหนึ่งที่คู่กับการไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดต่างๆ ที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องมีติดไม้ติดมือกลับมาฝากคนที่บ้าน เพื่อนที่ทำงาน หรือคนที่รู้จัก นั้นก็คือของฝากนั้นเอง ของฝากของแต่ละจังหวัดก็จะแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะของจังหวัดนั้นๆ แตกต่างกันไปตามภูมิประเทศ ตามอาชีพ และทรัพยากรของจังหวดนั้นๆ ของฝากบางอย่างบ่งบอกถึงภูมิปัญญาพื้นถิ่นของที่นั้นๆ แบบไม่มีที่ไหนเหมือน

ที่มาhttp://th.ferrykohchang.com/%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9D%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%94/

ขนมไทยจังหวัดตราด

ขนมน้ำตาลชักหรือตังเม 

                        ขนมน้ำตาลชักหรือตังเม เป็นขนมชนิดหนึ่งทำจากน้ำตาลหรือน้ำอ้อยที่เคี่ยว 
            จนเหนียววิธีการทำขนมน้ำตาลชักหรือตังเมมีขั้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอนคือ 
            การเคี่ยวน้ำตาลและการชักน้ำตาลหรือตีนวลซึ่งเป็นขั้นตอนที่ต้องอาศัย 
            ความชำนาญและประสบการณ์ รสชาติหวาน หอม กรอบ สามารถเก็บไว้ได้นาน

ที่มา https://sites.google.com/site/thaidessert14/dessert/khnm-thiy-phakh-tawan-xxk/canghwad-trad

ศาสนาจังหวัดตราด

ทำบุญตักบาตรเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๙
วันศุกร์ที่ 01 มกราคม 2016 เวลา 08:00
(๑ ม.ค.๕๙) นายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดตราด พร้อมด้วย หัาหน้าส่วนราชการ  ข้าราชการ ประชาชนจังหวัดตราด ร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตร ข้าสาร อาหารแห้ง เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๙ ณ ลานหน้าพระบรมราชานุเสาวรีย์รัชกาลที่ ๕  หน้าศาลากลางจังหวัดตราด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
ที่มา http://trt.onab.go.th/

การแต่งกาย

การแต่งกาย

การแต่งกายภาคตะวันออก
ในภาคตะวันออกการแต่งกายมีลักษณะเช่นเดียวกับคนภาคกลางเดิมที่ภาคนี้เรียกรวมกับคนภาคกลาง แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศซึ่งต่างไปจากภาคกลางผลิตผลและภูมิอากาศคล้ายคลึงกับภาคใต้จังมีลักษณะเด่นขัดของตนเองที่แยกออกไปได้
ภาคกลางและภาคตะวันออก
 ชุดไทย ร.5 – ตัวเสื้อเป็นผ้าลูกไม้เนื้อนุ่ม เอวใส่ลาสติกระบายสวยงามทั้งรอบคอและปลายแขนเสื้อ แขนตุ๊กตาติดกระดุมด้านหลังสวมใส่สบาย โจรกระเบนผ้าตราดลายไทยสอดดิ้น
          เด็กหญิงในสมัยนี้ นุ่งโจงกระเบนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ ไม่สวมเสื้อเวลาออกงานจึงสวมเสื้อคอติดลูกไม้ที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้า เวลาแต่งตัวเต็มที่นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาวคอปิดแต่งด้วยผ้าลูกไม้งดงาม สวมถุงเท้า รองเท้า เจ้านายที่ทรงพระเยาว์ ทรงฉลองพระองค์แขนยาว พองและทรงเครื่องประดับมาก ยังคงนิยมไว้ผมจุก เมื่อตัดจุกแล้วจึงเริ่มไว้ผมยาว ได้กล่าวไว้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่มีพระราชประสงค์จะให้ชาวต่าง ประเทศดูหมิ่นเหยียดหยามคนไทยว่าแต่งกายเหมือนคนป่า จึงทรงกวดขันเรื่องนี้มากถึงกับโปรดให้ออกประกาศ 2 ฉบับ ใชับังคับราษฎร ฉบับแรกคือ
          ประกาศห้ามคนแต่งตัวไม่สมควร มิให้ไปมาในพระราชฐานที่เสด็จออก โดยห้ามผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงสวมแต่เสื้อชั้นในหรือไม่สวมเสื้อเลย หรือนุ่งกางเกงขาสั้นเหนือเข่า หรือนุ่งผ้าหยักรั้งไม่ปิดเข่าหรือนุ่งโสร่ง หรือสวมรองเท้าไม่มีถุงเท้า ไม่ว่ารองเท้าชนิดใด ๆ หรือสวมรองเท้าสลิปเปอร์ ตลอดจนเด็กที่เปลือยกายเข้ามาในบริเวณพระราชวังชั้นนอกด้านหน้ากับบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ยกเว้นคนทำงานขนของก่อสร้าง กวาดล้าง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนหรือพาเด็กหรือปล่อยเด็กที่แต่งกายไม่สมควรดังกล่าวล่วงเข้ามาในเขตที่กำหนดไว้ให้นายประตูขับไล่ห้ามปราม ถ้าไม่ฟังให้จับส่งศาลกระทรวงวังตัดสินโทษ ปรับไม่เกินคราวละ 20 บาท หรือขังไว้ใช้การไม่เกินคราวละ 15 วัน หรือทั้งปรับทั้งขังตามควรแก่โทษ ถ้าผู้ทำผิดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีลงไป บิดามารดาหรือมูลนายหรือผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น จะต้องรับโทษแทนทุกประการ ประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม ร.ศ.117 (พ.ศ.2441) ให้ใช้บังคับตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ร.ศ.117 เป็นต้นไป
          ชุดราชปแตน – เป็นชุดไทยสำหรับท่านชายแบบทางการใช้ได้กับการใส่เพื่อเข้าร่วมงานพิธีแบบไทย หรือเป็นชุดสำหรับเจ้าบ่าว ในพิธีหมั้นหรือพิธีมงคลสมรส ชุดนี้โดยปกติจะใส่กับโจงกระเบนมีให้เลือก 8 สีด้วยกันตัดเป็นสำเร็จรูปขอบยางยืด
          เครื่องแต่งกายของชายไทยในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ได้ปรับปรุงตามแบบประเพณีนิยมสากลของชาวตะวันตกเป็นครั้งแรก แต่หลังจากเสด็จประพาสอินเดีย-พม่า ในปี พ.ศ.2414 แล้ว มีพระราชดำริว่า การสวมเสื้อนอกแบบฝรั่งซึ่งต้องมีเสื้อเชิ้ต สวมข้างในแล้วยัง มีผ้าผูกคออีกด้วยนั้น ไม่เหมาะสมกับอากาศร้อนของเมืองไทย จึงโปรดให้ดัดแปลงเป็นเสื้อนอกสีขาวคอปิดติดกระดุมตลอดอก 5 เม็ด เรียกว่า “เสื้อราชแปตแตนท์ (RajPattern) ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “เสื้อราชปะแตน” ซึ่งแปลว่า “แบบหลวง” แต่ยังคงนุ่งผ้าม่วงสีกรมท่าเหมือนเดิม ในสมัยนี้ นิยมสวมหมวกแบบยุโรปหรือหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้า ซึ่งมักจะใช้คล้องแขนจึงเรียกว่า “ไม้ถือ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2439 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทหารนุ่งกางเกงขายาวแทนผ้าม่วงโจงกระเบนสีกรมท่า เป็นผลให้ประชาชนเริ่มนิยมนุ่งกางเกงขายาวและสวมหมวกกะโล่กันขึ้นบ้างในตอนปลายรัชกาล
          ที่มา https://duttineek.wordpress.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%93%E0%B8%B5/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2/

ประเพณีจังหวัดตราด

ประเพณีประจำจังหวัดตราด

งานวันวีรกรรมทหารเรือไทย ในยุทธนาวีที่เกาะช้าง


 

จัดขึ้นวันที่ 17 มกราคม ถึงวันที่ 21 หรือ 23 มกราคม บริเวณอำเภอแหลมงอบและเกาะช้าง จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการทำยุทธนาวีของกองทัพเรือไทยกับกองทัพเรือฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2548 และ มีการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ทหารเรือไทยที่ได้สละชีพ ปกป้องแผ่นดินไทยในครั้งนั้น ภายในงานมีการแสดงนิทรรศการของกองทัพเรือ ตลอดค่ำมีการแสดงดนตรี พิธีลอยพวงมาลา การออกร้านงานกาชาด มหรสพอื่นๆ มีการออกร้าน ตำบล 1ผลิตภัณฑ์ของจังหวัดตราดและการจำหน่ายสินค้าราคาถูก คุณภาพดี

ที่เที่ยวจังหวัดตราด

สถานที่สำคัญและแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดตราด











พระบรมราชานุเสาวรีย์รัชกาลที่ ๕
ตั้งประดิษฐานอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดตราด ชาวตราดให้ความเคารพสักการะมาโดยตลอด โดยจะเรียกแทนพระองค์ว่า "เสด็จพ่อฯ" หรือ "เสด็จพ่อ ร.๕" ตอนเย็นๆจะมีชาวตราดหรือนักท่องเที่ยวมานั่งเล่น พบปะ พูดคุยในบริเวณนี้กันมาก เพราะอากาศดี สถานที่กว้างขวาง

อาหารจังหวัดตราด


     

   
          
    ท่านรู้จักจังหวัดตราดมานานแล้วในหลายๆด้าน ในฐานะที่เป็นชาวตราดจึงอยากให้ท่านทั้งหลายได้สัมผัสความเป็นจังหวัดตราดในอีกด้านหนึ่ง ได้แก่ ด้านอาหาร ซึ่งจังหวัดตราดขึ้นชื่อในด้านความอร่อยของอาหารทั้งของคาวและของหวานมาช้านาน วันนี้จึงได้นำอาหารพื้นเมืองที่ทำง่ายๆและอร่อย สามารถทำรับประทานในครอบครัวหรือเลี้ยงแขกก็ได้ อยู่จังหวัดไหนก็สามรารถลิ้มรสชาติอาหารพื้นเมืองของตราดได้ มีอาหาร 4 ชนิด ที่อยากแนะนำ ได้แก่

    ข้าวเกรียบน้ำจิ้ม...ตราดเป็นจังหวัดชายทะเลมีกุ้งทะเลจำนวนมาก เมื่อเหลือจากการรับประทานก็จะนำไปตากแห้งไว้รับประทานนานๆ กุ้งแห้งสามารถนำไปทำอาหารได้หลายชนิดทั้งอาหารคาว หวาน เช่น น้ำพริกกุ้งแห้ง ยำกุ้งแห้ง(คล้ายน้ำพริกตาแดง) และใส่ในแกงส้ม ฯลฯ ส่วนอาหารหวานใช้ทำหน้าข้าวเหนียวเหลือง เป็นต้น.......วิธีทำ

    หมูต้มชะมวง...อาหารที่ขึ้นชื่ออีกชนิดของจังหวัดตราดได้แก่ หมูต้มชะมวง เคยมีหลายท่านพูดว่า ถ้ามาเที่ยวเมืองตราดแล้วไม่ได้ลิ้มรสหมูต้มชะมวงเท่ากับมายังไม่ถึงจังหวัดตราด หมูต้มชะมวง เป็นอาหารที่มี 3 รส คือ เปรี้ยง เค็ม หวาน เป็นอาหารที่มีรสชาติแปลกไปจากอาหารภาคอื่นๆ ดังนั้นแขกที่มาเยือนแล้วได้ลิ้มลองต้องประทับใจทุกคน อาหารชนิดนี้เคยนำขึ้นโต๊ะเสวยสำหรับทุกพระองค์มาแล้ว สมเด็จพระเทพฯทรงโปรดมาก........วิธีทำ

    ขนมชั้นเมืองตราด...สุดยอดของขนมไทย ใช้ครั่งแทนสี เป็นขนมไทยยุคโบราณยุคคุณย่า คุณยาย เป็นขนมที่นิยมจัดเลี้ยงรับรองแขกในงานต่างๆ เช่น งานบวช แต่งงาน งานทำบุญ ฯลฯ และเลี้ยงรับรองแขกบ้านแขกเมือง นับเป็นของฝากที่วิเศษสุดอีกด้วย มีความแตกต่างจากขนมชั้นที่อื่น คือ หวานมันเหนียวนุ่มพอประมาณและสีของขนมชั้นทำด้วยครั่ง หรือขนมชั้นที่ทำด้วยอ้อย(น้ำตาลทรายแดง)โดยไม่ใส่สีแดงครั่ง........วิธีทำ

   ขนมบันดุก... เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่ชาวเมืองตราดโดยทั่วไปโดยเฉพาะชาวชนบทนิยมทำรับประทาน ในครอบครัว เป็นขนมที่อร่อยและสามารถทำได้ง่ายๆ........วิธีทำ

คำขวัญจังหวัดตราด



คำขวัญ


จังหวัดตราด ประกอบไปด้วยหมู่เกาะช้าง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น 650 ตารางกิโลเมตร ประกอบไปด้วยเกาะต่าง ๆ ที่มากถึง 52 เกาะ เรียงรายตั้งแต่เขตอำเภอแหลมงอบ อำเภอเมือง และอำเภอคลองใหญ่ เกาะที่สำคัญที่สุด คือ เกาะช้าง นอกจากนี้ยังมีเกาะอื่น ๆ ที่ยังคงสภาพความสวยงามตามธรรมชาติได้แก่ เกาะกูด เกาะหมาก เกาะคลุ้ม เกาะเหลายาใน เกาะง่าม เกาะไม้ซี้ใหญ่ เกาะหวาย เกาะรัง ฯลฯ
              พลอยแดง  จังหวัดตราด เป็นแหล่งของพลอยแดงน้ำงามที่มีชื่อเสียงโด่งดังในนาม "ทับทิมสยาม" แต่ปัจจุบันแร่พลอยเริ่มหมดไป ทับทิมสยามจึงกลายเป็นสิ่งที่หายาก ปัจจุบันยังพอหาซื้อได้จากร้านจำหน่ายเพชรพลอยในตัวเมืองตราดRed ruby: The Supply of  locally mined rubies, better Know  as Siamese Rubies, is now in decline. Therefore ,these gems are increasingly rare. However, visitors can still find them in city centre gem shops.

             ระกำหวาน ตราดมีผลไม้หลากหลายชนิด  แต่ผลไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของตราด คือ "ระกำหวาน"  ระกำหวานของตราด เป็นระกำที่มีรสชาดหวานหอมเมื่อแก่จัด เป็นที่นิยมของนักบริโภคระกำมาก  Sweet Zallaca ( Rakum Wan) This is the most famous of  
all Trat's Fruits.

              สุนัขพันธุ์ไทยหลังอาน  มีลักษณะพิเศษ คือ มีอาน หรือขวัญบนแผ่นหลัง มีความฉลาด และซื่อสัตย์ คอกสุนัขหลังอานบริเวณ บริษัท โคคาโคล่า The Siamese Ridgeback dog has a whorl of hair stretching the length of its back which is a 
unique characteristic. It is famous for is intelligence and Loyalty.

              อนุสรณ์สถานยุทธนาวีเกาะช้าง จัดสร้างขึ้นบริเวณชายทะเลแหลมงอบมีอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผันพระพักตร์ไปยังยุทธนาวีเกาะช้างมีการจัดบริเวณและอาคารพิพิธภัณฑ์คล้ายเรือรบ ด้านในพิพิธภัณฑ์ได้จัดแสดงประวัติศาสตร์ของกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ประวัติการสู้รบของกองทัพเรือไทยกับกองกำลังเรือรบของฝรั่งเศส รอบ ๆ บริเวณอนุสรณ์สถานได้จัดเป็น สวนสำหรับพักผ่อน และจะมีงานฉลอง เพื่อระลึกถึงการทำยุทธนาวีของกองทัพเรือไทย ระหว่างวันที่ 17-21 มกราคมของทุกปีNaval Battle Monument was built at Laem Ngop.The monument to Kromluang Chumporn Khet Udomsak stands facing towards Koh Chang. The building is styled as a warship and houses historical information about the Koh Chang Naval Battle. At preset, it is also a place where the people of Trat go to relax and pay their respects. A celebration of Koh Chang Naval Battle is held between 17-21 January every year at the memorial.

ประวัติความเป็นมาจังหวัดตราด





  ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า เมืองตราดมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร แต่เท่าที่ค้นพบใน สมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (ปีพ.ศ.1991-2031) ได้ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้มีการปรับปรุงเป็น บ้านเมือง ครั้งใหญ่ขึ้น โดยจัดแบ่งการ บริหารราชการแผ่นดิน ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ส่วนกลางประกอบไปด้วย ฝ่ายทหาร และ พลเรือน ส่วนภูมิภาคแบ่งเมืองต่างๆ ออกเป็น หัวเมืองเอก หัวเมืองโทหัวเมืองตรี และหัวเมืองจัตวางตามลำดับอย่างไร ก็ตามในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ก็ไม่ปรากฏชื่อของเมืองตราด แต่อย่างใดเพียงแต่บอกว่า"หัวเมืองชายทะเลหรือ บรรดาหัวเมืองชายทะเล" เท่านั้นต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปรากฏว่า บรรดาหัวเมืองชายทะเลแถบตะวันออกนั้นเรียกแต่เพียงว่า"บ้านบางพระ" ในตอนปลายของกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่าบรรดาเสนาบดีจัตุสดมภ์ทั้งหลาย ได้พากันแบ่งหัวเมือง ต่างๆ ให้ไปขึ้นกับสมุหนายก สมุหพระกลาโหมและโกษาธิบดี ทำการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ ทางทะเล หลักฐานอีกทางหนึ่งเชื่อว่าคำว่า"ตราด" นี้อาจจะมีชื่อเรียกเพี้ยนมาจาก "กราด" อันเป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งสำหรับใช้ทำไม้กวาด ซึ่งในสมัยก่อน ต้นไม้ชนิดนี้มักจะมีมากทั่วเมืองตราดจากหลักฐานต่างๆดังกล่าวมาแล้วนี่ เองจึงทำให้ชื่อว่า "เมืองตราด" เป็นเมืองที่มีชื่อเรียกกันมาอย่างนี้กว่า 300 ปีมาแล้ว และ เป็นเมืองสำคัญซึ่งขึ้นอยู่กับฝ่ายการคลังของประเทศมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปราสาททองแล้ว จนกระทั่งก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310